วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย



เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

      ชื่่อผู้วิจัย : อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ความเป็นมาและความสำคัญ

                   โลกปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์อย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีเครือข่ายโยงใยทั่วโลก ทำให้สังคมเป็นสังคมแห่งข่าวสารข้อมูล โลกถูกหลอมเป็นหนึ่งเดียวไร้ซึ้งพรมแดน  จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการสื่อสารโทรคมนาคมที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและประเทศ  เราใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ ดังนั้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็กปฐมวัย เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการเรียนรู้สูง   โดยการแสวงหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่รอบตัวด้วยความอยากรู้ อยากเห็น เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เหมาะต่อการปูพื้นฐาน โดยการปลูกฝังคุณลักษณะต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตที่ดี  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์โดยผ่านการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการสร้างเสริมให้เด็กแต่ละคนประสบกับความสำเร็จ อีกทั้งเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็กเล็กๆจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นยิ่ง

วัตถุประสงค์

              1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนและหลังการทดลอง
              2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยท่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ
              3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคุณะกรรมการการประถมศึกษา

ขอบเขตการวิจัย

               1.ขอบเขตประชากร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี   จำนวน 60 คน
               2.ขอบเขตเนื้อหา  เนื้อหาที่ใช้ในแผนการจัดประสบการณ์แบบมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ได้มาจากเนื้อหาในแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 6 หน่วย  คือหน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี   หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก   และหน่วยไม้ดอกไม้ประดับ

ตัวแปรที่ศึกษา 

               ตัวแปรต้น : การได้รับประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
                                 - ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  
                                 - ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแบบแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติและการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ

              ตัวแปรตาม : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ  การสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็น  ทักษะการหามิติสัมพันธ์
 

นิยามศัพท์เฉพาะ

            ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง  ความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ การค้นหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาครั้งนี้จำแนกทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ออกเป็น 6 ลักษณะ ได้แก่่
             1.ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
             2.ทักษะการจำแนกประเภท    หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่ง หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งเกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความเหมือนหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
             3.ทักษะการแสดงปริมาณ     หมายถึง ความสามารถในการนับ การจัดลำดับ การวัด และการเปรียบเทียบด้วยเครื่องมือง่ายๆ โดยหน่วยที่ใช้อาจจะเป็นมาตรฐานหรือไม่มาตรฐานหรืออาจจะไม่มีหน่วยกำกับก็ได้
             4.ทักษะการสื่อความหมาย     หมายถึง  ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัดและการทดลองมาจัดให้สัมพันธ์กันมากขึ้น จนง่ายต่อการแปลความหมายและสื่อความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจ โดยใช้คำพูด การแสดงท่าทาง หรือรูป
             5.ทักษะการลงความเห็น       หมายถึง ความสามารถในการตีความ สรุปความคิดเห็นที่ได้จากข้อมูล จากการสังเกต การวัดหรือกาทดลองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
             6.ทักษะการหามิติสัมพันธ์  หมายถึง  ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ
               ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง วิธีการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยกิจกรรมการสังเกต การจำแนกประเภท การแสดงปริมาณ การสื่อความหมาย การลงความเห็น การหามิติสัมพันธ์
               ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง  วิธีการจัดประสบการณ์ตามกระบวนการที่ระบุไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2536
                การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  หมายถึง  การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยกำหนดกิจกรรมการเล่นหรือการทดลองโดยเด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้รวบรวมข้อมูล  คิดค้น  ทดลองทำ และสรุปผลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้จากสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้อย่างมีจุดประสงค์
                การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ หมายถึง การที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้จากสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ผู้วิจัยจัดเตรียมมาและเล่นกับสื่อวัสดุ อุปกรณ์อย่างอิสระ


ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                        ประชากร
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 60 คน
                         กลุ่มตัวอย่าง
                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543  โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1.ทำการสุ่มโดยจับฉลากมา 1 ห้องเรียน  จากจำนวน 2 ห้องเรียน
                2.นำแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ (Pre-test)
                3. นำคะแนนที่ได้มาจับคู่คะแนน  เพื่อจัดกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มละ 15 คน
                4.ทอสอบด้วยค่าที เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนการสอนของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มว่าไม่มีความแตกต่าง
                5.สุ่มนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง โดยวิธีการจับฉลาก เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ดังนี้
                          5.1กลุ่มทดลอง ได้รับประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
                          5.2 กลุ่มควบคุม   ได้รับประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคุณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

           1.แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 แผน  และแผนการจัดประสบการณ์การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน จำนวน 18 แผน
           2.แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 30 แผน  และแผนการจัดประสบการณ์การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ จำนวน 18 แผน
            3.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 60 ข้อ


การดำเนินกิจกรรม 

             1.ขั้นนำ  ครูแนะนำและใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ อยากศึกษาหาคำตอบ
             2. ขั้นดำเนินกิจกรรม  ให้เด็กได้เลือกเล่น  ปฏิบัติการทดลอง หาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ในระหว่างการเล่นหรือปฏิบัติการทดลองอยู่นั้น ครูจะคอยชี้แนะโดยใช้คำถามประกอบกิจกรรม   โน้มน้าวให้เด็กคิดและทดลองในวิธีการต่างๆให้คำชมเชมเมื่อเด็กลงมือกระทำและมีความหมาย ให้กำลังใจเมื่อเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการเล่นหรือปฏิบัติการทดลอง
             3.ขั้นสรุป  โดยครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้กระทำในมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น