วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 14.10-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

                      ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานวิจัย และโทรทัศน์ครูสำหรับนักศึกษา คนที่ยังไม่ได้ออกไปนำเสนอ




งานวิจัย (Research)
1.เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.เรื่อง  การคิดเชิงสร้างเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
3.เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
4.เรื่อง   การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
5.เรื่อง   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
6.เรื่อง    ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


โทรทัศน์ครู  (Teachers)
1.เรื่อง   เรียนรู้วิทยาศาสตร์
2.เรื่อง   เสียงในการได้ยิน:เรื่องราวของเสียง
3.เรื่อง   จิตวิทยาศาสตร์ : การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์  การสร้างบรรยากาศการเรียน


           ##หลังจากนำเสนองานวิจัย และโทรทัศน์ครูเสร็จ อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษา แบ่งกลุ่มตาม กลุ่มเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้ทำแผ่นพับ  ในเรื่องการสานสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง## 


การนำไปใช้ (Application)
          สามารถนำกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในวันนี้ไปปรับใช้ในอนาคตต่อไปได้  

การประเมิน (Evaluation)
          ตนเอง (Self) - ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ และมีการจดบันทึกและร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี
          เพื่อน (Friends) -  ตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมในสิ่งที่อาจารย์สั่ง 
         อาจารย์ (Teacher) - แนะนำและบอกข้อแก้ไขในการนำเสนองาน  และจัดหากิจกรรมที่น่าสนใจมาให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติ




โทรทัศน์ครู (เรื่อง ผักสะอาดน่ากิน)





                      คุณครูต้องการแก้ไขปัญหาเรื่อง นักเรียนไม่ชอบกินผัก จึงได้จัดกิจกรรมผักสะอาดน่ากิน โดยมีทั้งการเล่านิทานเรื่อง ฟักทองของนิด การเล่นเกมเกี่ยวกับผัก อีกทั้งยังมีการนำผักจริง  มาให้นักเรียนได้ล้างทำความสะอาด ได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงประโยชน์ของผักแต่ละชนิด โดยกิจกรรมทั้งหลายนี้มีเป้าหมายที่สำคัญ คือการให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการกินผัก  แล้วคุณครูยังมีจิ๊กซอรูปภาพผักต่างๆ มาให้เด็กนักเรียนช่วยกันต่อจิ๊กซอ แล้วถามนักเรียนว่าในภาพมีผักอะไรบ้าง   











สรุปวิจัย



เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

      ชื่่อผู้วิจัย : อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ความเป็นมาและความสำคัญ

                   โลกปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์อย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีเครือข่ายโยงใยทั่วโลก ทำให้สังคมเป็นสังคมแห่งข่าวสารข้อมูล โลกถูกหลอมเป็นหนึ่งเดียวไร้ซึ้งพรมแดน  จากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการสื่อสารโทรคมนาคมที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและประเทศ  เราใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ ดังนั้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็กปฐมวัย เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการเรียนรู้สูง   โดยการแสวงหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่รอบตัวด้วยความอยากรู้ อยากเห็น เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เหมาะต่อการปูพื้นฐาน โดยการปลูกฝังคุณลักษณะต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตที่ดี  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์โดยผ่านการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการสร้างเสริมให้เด็กแต่ละคนประสบกับความสำเร็จ อีกทั้งเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็กเล็กๆจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นยิ่ง

วัตถุประสงค์

              1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนและหลังการทดลอง
              2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยท่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ
              3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคุณะกรรมการการประถมศึกษา

ขอบเขตการวิจัย

               1.ขอบเขตประชากร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี   จำนวน 60 คน
               2.ขอบเขตเนื้อหา  เนื้อหาที่ใช้ในแผนการจัดประสบการณ์แบบมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ได้มาจากเนื้อหาในแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 6 หน่วย  คือหน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี   หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผลไม้ใครๆก็ชอบ  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก   และหน่วยไม้ดอกไม้ประดับ

ตัวแปรที่ศึกษา 

               ตัวแปรต้น : การได้รับประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
                                 - ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  
                                 - ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแบบแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติและการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ

              ตัวแปรตาม : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ  การสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็น  ทักษะการหามิติสัมพันธ์
 

นิยามศัพท์เฉพาะ

            ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง  ความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ การค้นหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาครั้งนี้จำแนกทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ออกเป็น 6 ลักษณะ ได้แก่่
             1.ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
             2.ทักษะการจำแนกประเภท    หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่ง หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งเกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความเหมือนหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
             3.ทักษะการแสดงปริมาณ     หมายถึง ความสามารถในการนับ การจัดลำดับ การวัด และการเปรียบเทียบด้วยเครื่องมือง่ายๆ โดยหน่วยที่ใช้อาจจะเป็นมาตรฐานหรือไม่มาตรฐานหรืออาจจะไม่มีหน่วยกำกับก็ได้
             4.ทักษะการสื่อความหมาย     หมายถึง  ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัดและการทดลองมาจัดให้สัมพันธ์กันมากขึ้น จนง่ายต่อการแปลความหมายและสื่อความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจ โดยใช้คำพูด การแสดงท่าทาง หรือรูป
             5.ทักษะการลงความเห็น       หมายถึง ความสามารถในการตีความ สรุปความคิดเห็นที่ได้จากข้อมูล จากการสังเกต การวัดหรือกาทดลองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
             6.ทักษะการหามิติสัมพันธ์  หมายถึง  ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ
               ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง วิธีการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยกิจกรรมการสังเกต การจำแนกประเภท การแสดงปริมาณ การสื่อความหมาย การลงความเห็น การหามิติสัมพันธ์
               ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง  วิธีการจัดประสบการณ์ตามกระบวนการที่ระบุไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2536
                การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  หมายถึง  การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยกำหนดกิจกรรมการเล่นหรือการทดลองโดยเด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้รวบรวมข้อมูล  คิดค้น  ทดลองทำ และสรุปผลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้จากสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้อย่างมีจุดประสงค์
                การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ หมายถึง การที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้จากสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ผู้วิจัยจัดเตรียมมาและเล่นกับสื่อวัสดุ อุปกรณ์อย่างอิสระ


ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                        ประชากร
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 60 คน
                         กลุ่มตัวอย่าง
                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543  โรงเรียนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1.ทำการสุ่มโดยจับฉลากมา 1 ห้องเรียน  จากจำนวน 2 ห้องเรียน
                2.นำแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ (Pre-test)
                3. นำคะแนนที่ได้มาจับคู่คะแนน  เพื่อจัดกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มละ 15 คน
                4.ทอสอบด้วยค่าที เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนการสอนของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มว่าไม่มีความแตกต่าง
                5.สุ่มนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง โดยวิธีการจับฉลาก เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ดังนี้
                          5.1กลุ่มทดลอง ได้รับประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
                          5.2 กลุ่มควบคุม   ได้รับประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคุณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

           1.แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 แผน  และแผนการจัดประสบการณ์การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน จำนวน 18 แผน
           2.แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 30 แผน  และแผนการจัดประสบการณ์การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ จำนวน 18 แผน
            3.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 60 ข้อ


การดำเนินกิจกรรม 

             1.ขั้นนำ  ครูแนะนำและใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ อยากศึกษาหาคำตอบ
             2. ขั้นดำเนินกิจกรรม  ให้เด็กได้เลือกเล่น  ปฏิบัติการทดลอง หาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ในระหว่างการเล่นหรือปฏิบัติการทดลองอยู่นั้น ครูจะคอยชี้แนะโดยใช้คำถามประกอบกิจกรรม   โน้มน้าวให้เด็กคิดและทดลองในวิธีการต่างๆให้คำชมเชมเมื่อเด็กลงมือกระทำและมีความหมาย ให้กำลังใจเมื่อเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการเล่นหรือปฏิบัติการทดลอง
             3.ขั้นสรุป  โดยครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้กระทำในมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน














วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันอังคาารที่  25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 14.10-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

                        ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ให้นักศึกษา นำเสนอ วิจัย และโทรทัศน์ครู เรียงตามลำดับเลขที่  ออกมานำเสนอ ทั้งหมด 6 คน

                       วิจัย (Research)
1.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
(นำเสนอโดย:นางสาววรรนิศา  นวลสุข)
2.เรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย
(นำเสนอโดย : นางสาวสุวิมล  หมั่นสนธ์)
3.เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร
(นำเสนอโดย : นางสาวอรชร  ธนชัยวนิชกุล)

  
                      โทรทัศน์ครู  (Teacher TV)
1.เรื่อง การกำเนิดเสียง                                     (นำเสนอโดย : นางสาวธิดามาศ  ศรีปาน)
2.เรื่อง  สารอาหารในชีวิตประจำวัน                  (นำเสนอโดย :นางสาวพัชราภรณ์  พระนาค)
3.เรื่อง  ไฟฟ้าและพรรณพืช                             (นำเสนอโดย : นางสาวสุนิสา  สะแลแม)



*จบการนำเสนอ  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาร่วมกัน ทำ Cooking *


กิจกรรม Cooking (Waffle)

                       ส่วนผสม
                              1.ไข่ไก่ (Egg)
                              2.เนย (Better)
                              3.แป้งทำขนม Waffle
                              4.น้ำเปล่า (Water)

                     ขั้นตอนการทำ
1.เทแป้งทำขนม Waffle  ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ 

                                    
2.ใส่ไข่ไก่ 1 ฟอง ลงบนแป้ง ตีให้แป้งกับไข่ไก่เข้ากัน จนเป็นเนื้อเดียวกัน



3.ค่อยๆใส่น้ำเปล่าลงไปเล็กน้อยตีให้เข้ากัน ไม่ให้แป้งเหลว หรือข้นเกินไป


4.ใส่เนยลงไปแล้วคนให้เข้ากัน  จนเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด


5.ตักแป้งใส่ภาชนะที่เตรียมไว้แล้ว


6.ทาเนยลงบนเครื่องพิมพ์เพื่อไม่ให้แป้งติดเครื่องพิมพ์                                 

7.นำแป้งที่เตรียมไว้ในภาชนะ ใส่ลงไปด้านละถ้วยครึ่ง จากนั้นก็พับเครื่องพิมพ์ลง  รอให้ Waffle สุก 

8.Waffle  ที่สุกแล้วพร้อมรับประทาน


การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)

                สามารถนำข้อแนะนำเพิ่มเติม จากที่อาจารย์ได้ให้แก่ คนที่ออกไปนำเสนอ วิจัย และ โทรทัศน์ครู  หลักการในการสรุปวิจัยบทความ ไปปรับใช้ในวิชาอื่นๆ ได้  และสามารถนำขั้นตอนการลงมือปฏิบัติทำWaffle  ไปใช้สอนเด็กในอนาคตได้  


การประเมิน (Evaluation)

                 ตนเอง (Self) - ตั้งใจฟังและจดบันทึกในสิ่งที่เพื่อนออกไปนำเสนองานวิจัย และโทรทัศน์ครู 
                 เพื่อน (Friends)- เพื่อนมีการเตรียมพร้อมในการนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู  และร่วมทำกิจกรรม Waffle เป็นอย่างดี
                 อาจารย์ (Teacher) - อาจารย์ให้คำแนะนำ และข้อปรับปรุงในการสรุปงานวิจัย และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเสนอโทรทัศน์ครู  




บันทึก อนุทินครั้งที่14



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

          ในคาบเรียนวันนี้ ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอแผนการเรียนการสอน ออกไปนำเสนอหน้าชั้น ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

                                    7.กลุ่ม นกหงษ์หยก




                                   

                                   8.กลุ่ม หน่วยสับปะรด

                                          




                                       9.กลุ่ม หน่วยส้ม



                    จบการนำเสนอแผนการสอน  อาจารย์ก็มีกิจกรรมในการทำ Cooking   โดยวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำ ทาโกยากิ

                      วัสดุอุปกรณ์/อุปกรณ์


                                1.ไข่ไก่
                                2.ข้าวสวย
                                3.แครอท / ต้นหอม
                                4.ปูอัด
                                5.ซอสปรุงรส
                                6.เนย

                      วิธีการทำ 
                                1.ตีไข่ใส่ชาม  
                                2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในอัตราส่วนที่พอเหมาะ
                                3.คนส่วนผสมให้เข้ากัน 
                                4.ทาเนยลงในหลุมกระทะ  เทส่วนผสมที่ครแล้วลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้


การนำไปใช้ (Application)

                   สามารถนำกิจกรรม การทำ Cooking  ทาโกยากิ ในวันนี้  ไปสอนให้เด็กลงมือ มำด้วยตนเองได้  ซึ่งเด็กจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมนี้

การประเมิน (Evaluation)

                   ตนเอง (Self) - ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอแผน  และร่วมทำกิจกรรม ทาโกยากิ  อย่างสนุกสนาน
                   เพื่อน (Friend) - เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม Cooking  ทาโกยากิ  กันอย่างสนุกสนาน  และฟังลำดับขั้นตอนการทำจากอาจารย์
                  อาจารย์ (Teacher) - อาจารย์มีคำแนะนำเพิ่มเติม  ให้กับกลุ่มที่ออกไปนำเสนอแผนการสอน  และมีกิจกรรมที่น่าสนใจมาให้นักศึกษาลงมือทำ               



                 
           

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.







ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

                     ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ออกไปนำเสนอ แผนการจัดประสบการณ์เรียนการสอน ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีทั้งหมด 6 กลุ่มดังนี้

                               
                         1.กลุ่ม  หน่วยผลไม้


                       



                    2.กลุ่ม หน่วยแตงโม




                  3.กลุ่ม หน่วยช้าง



                  4.กลุ่ม หน่วยข้าวโพด





                     5.กลุ่ม  หน่วยกล้วย

                                



               6.กลุ่ม หน่วยผีเสื้อ  

                        



                               โดยกลุ่มดิฉันนำเสนอ ในหน่วยช้าง  ให้เด็กจับคู่ภาพ 1:1 สมาชิกในกลุ่มร่วมมือกันทำกิจกรรม เป็นอย่างดี  





การนำไปใช้(Application)

                   สามารถนำข้อเสนอแนะ  และกิจกรรม การนำเสนอแผนในวันนี้ไปปรับปรุงแก้ใช้ในอนาคตต่อไปได้  และนำเทคนิคการจัดการเรียนการสอนไปใช้ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การประเมิน (Evaluation)

                 ตนเอง (Self) - ตั้งใจนำเสนอ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนใน หน่วยช้าง  และตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ มีการจดบันทึกทุกครั้ง
                 เพื่อน (Friends) - แต่ละกลุ่มตั้งใจนำเสนอ แผนการสอน กันอย่างเต็มที่  
                 อาจารย์ (Teacher) - อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะและข้อปรับปรุงแต่ละกลุ่ม ว่าควรปรับปรุงวิธีการสอนส่วนใด และแก้ไขแผนส่วนใด